วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555

 หลักการใช้สื่อการสอน          
ภายหลังจากที่ผู้สอนได้เลือกและตัดสินใจแล้วว่าจะใช้สื่อประเภทใดในการสอน  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากการถ่ายทอดเนื้อหาของสื่อนั้นได้ดีที่สุด  ผู้สอนจำเป็นต้องมีหลักในการใช้สื่อการสอนตามลำดับดังนี้
1.             เตรียมตัวผู้สอน   เป็นการเตรียมตัวในการอ่าน  ฟังหรือดูเนื้อหาที่อยู่ในสื่อที่จะใช้ว่ามีเนื้อหาถูกต้อง  ครบถ้วน  และตรงกับที่ต้องการใช้หรือไม่  ถ้าสื่อนั้นมีเนื้อหาไม่ครบ  ผู้สอนจะเพิ่มเติมโดยวิธีการใดในจุดไหนบ้าง  จะมีวิธีการใช้สื่ออย่างไร  เช่น  ใช้ภาพนิ่งเพื่อเป็นการนำบทเรียนที่จะสอน  แล้วอธิบายเนื้อหาเกี่ยวกับบทเรียนนั้น  ต่อจากนั้นเป็นการให้ชมวิดีทัศน์เพื่อเสริมความรู้และจบลงโดยการสรุปด้วยแผ่นโปร่งใสอีกครั้งหนึ่ง  ดังนี้เป็นต้น  ขั้นตอนเหล่านี้ผู้สอนต้องเตรียมตัวโดยเขียนลงในแผนการสอนเพื่อการใช้สื่อได้ถูกต้อง
2.             เตรียมจัดสภาพแวดล้อม  โดยการจัดเตรียมวัสดุเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ให้พร้อม  ตลอดจนจัดเตรียมสถานที่ห้องเรียนให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมด้วย  เช่น  มีแผ่นโปร่งใสและปากกาเขียนอยู่หรือไม่  ม้วนวีดิทัศน์ที่นำมาจะฉายมีการกรอกลับตั้งแต่ต้นเรื่องหรือยังเครื่องรับโทรทัศน์ต่อเข้ากับเครื่องเล่นวีดิทัศน์เรียบร้อยไหม  ที่นั่ง  ของผู้เรียนอยู่ในระยะที่เหมาะสมหรือไม่ ฯลฯ สภาพแวดล้อมและความพร้อมต่างๆเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้การเรียนการสอนเป็นไปด้วยความสะดวกราบรื่นไม่เสียเวลา
3.             เตรียมพร้อมผู้เรียน  เป็นการเตรียมตัวผู้เรียนโดยมีการแนะนำหรือให้ความคิดรวบยอดว่าเนื้อหาในสื่อนั้นเป็นอย่างไร  เพื่อให้ผู้เรียนเตรียมพร้อมในการฟัง  ดูหรืออ่านบทเรียนจากสื่อนั้นให้เข้าใจได้ดีละสามารถจับประเด็นสำคัญของเนื้อหาได้  หรือหากผู้เรียนมีการใช้สื่อด้วยตนเอง  ผู้สอนต้องบอกวิธีการใช้ในกรณีที่เป็นอุปกรณ์ที่ผู้เรียนยังไม่เคยใช้มาก่อน  และผู้สอนก็ควรบอกกล่าวล่วงหน้าว่าหลังจากมีการเรียนหรือใช้เหล่านั้นแล้วผู้เรียนจะต้องมีกิจกรรมอะไรบ้าง  เช่น  มีการทดสอบ  การอภิปราย  การแสดง  หรือการปฏิบัติ  ฯลฯ  เพื่อผู้เรียนจะเตรียมตัวได้ถูกต้อง
1.             การใช่สื่อ  ผู้สอนต้องใช้สื่อให้เหมาะสมกับขั้นตอนที่เตรียมไว้แล้วเพื่อให้ดำเนินการสอนไปได้อย่างราบรื่น  และต้องควบคุมการเสนอสื่อให้ถูกต้อง  ตัวอย่างเช่น ในการฉายวีดิทัศน์   ผู้สอนต้องปรับภาพที่ออกทางเครื่องรับโทรทัศน์ให้ชัดเจน  ปรับเสียงอย่าให้ดังจนรบกวนห้องเรียนอื่นหรือค่อยจนเกินไปจนผู้เรียนที่นั่งอยู่หลังห้องไม่ได้ยิน  หรือดูว่ามีแสงตกบนจอภาพหรือไม่  ดังนี้เป็นต้น
2.             การติดตามผล  หลังจากที่มีการเสนอสื่อแล้ว  ควรมีการติดตามผลโดยการให้ผู้เรียนตอบคำถาม  อภิปราย  หรือเขียนรายงานมาส่ง  เพื่อเป็นการทดสอบว่าผู้เรียนเข้าใจบทเรียนและเรียนรู้จากสื่อที่เสนอไปนั้นอย่างถูกต้องหรือไม่  เพื่อผู้สอนจะได้สามารถทราบจุดบกพร่องและแก้ไขปรับปรุงการสอนของตนได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น