วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555


หลักการเลือกสื่อการสอน
          การเลือกสื่อการสอนเพื่อนำมาใช้ประกอบการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง  โดยในการเลือกสื่อ  ผู้สอนจะต้องตั้งวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมในการเรียนให้แน่นอนเสียก่อนเพื่อใช้วัตถุประสงค์นั้นเป็นตัวชี้นำในการเลือกสื่อการสอนที่เหมาะสมนอกจากนี้ยังมีหลักการอื่นๆเพื่อประกอบการพิจารณาคือ
1.             สื่อนั้นต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาบทเรียนและจุดมุ่งหมายที่จะสอน
2.              เลือกสื่อที่มีเนื้อหาถูกต้อง  ทันสมัย  น่าสนใจ  และเป็นสื่อที่จะให้ผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุด  ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาวิชานั้นได้ดีเป็นลำดับขั้นตอน
3.             เป็นสื่อที่เหมาะสมกับวัย  ระดับชั้น  ความรู้  และประสบการณ์ของผู้เรียน
4.             สื่อนั้นควรสะดวกในการใช้  มีวิธีใช้ไม่ซับซ้อนยุ่งยากเกินไป
5.             ต้องเป็นสื่อที่มีคุณภาพเทคนิคการผลิตที่ดี  มีความชัดเจนและเป็นจริง
6.             มีราคาไม่แพงจนเกินไป  หรือถ้าจะผลิตเองควรคุ้มกับเวลาและการลงทุน
           จากหลักการนี้สรุปได้ว่า  การจะเลือกสื่อมาใช้ในการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพนั้นผู้สอนจะต้องมีความรู้ความสามารถและทักษะในเรื่องต่างๆดังนี้
1.             วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมและจุดมุ่งหมายในการเรียนการสอน
2.             จุดมุ่งหมายในการนำสื่อมาใช้ประกอบหรือร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อใช้นำบทเรียน  ใช้ในการประกอบคำอธิบาย  ใช้เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์แก่ผู้เรียนหรือใช้เพื่อสรุปบทเรียน
3.             ต้องเข้าใจลักษณะเฉพาะของสื่อชนิดต่างๆแต่ละชนิดว่า สามารถเร้าความสนใจและให้ความหมายต่อประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียนได้อย่างไรบ้าง  เช่น  หนังสือเรียนและสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆใช้เพื่อเป็นความรู้พื้นฐานและอ้าอิง  ของจริงและของจำลองใช้เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง  แผนภูมิ  แผนภาพ  และแผนสถิติ  ใช้เพื่อต้องการเน้นหรือเพื่อแสดงให้เห็นส่วนประกอบหรือเปรียบเทียบข้อมูล   สไลด์และฟิล์มสทิปใช้เพื่อเสนอภาพนิ่งขนาดใหญ่ให้ผู้เรียนเห็นทั้งชั้นหรือใช้เพื่อการเรียนรายบุคคลก็ได้    เหล่านี้เป็นต้น
4.             ต้องมีความรู้เกี่ยวกับแหล่งของสื่อการเรียนการสอนทั้งภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา  สื่อบางอย่างจะคุ้มค่าในการผลิตเองหรือไม่  หรืออาจหายืมได้ที่ไหนบ้าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น