วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555

v   การเลือก  ดัดแปลง  หรือออกแบบสื่อ (Select, Modify, or Design Materials)
            การที่จะมีสื่อวัสดุที่เหมาะสมในการเรียนการสอนสามารถทำได้ 3 วิธี คือ
1.             เลือกจากสื่อที่มีอยู่แล้ว   ส่วนใหญ่ในสถาบันการศึกษามักจะมีทรัพยากรที่สามารถใช้เป็นสื่อได้อยู่แล้ว  ดังนั้น สิ่งที่ผู้สอนต้องกระทำคือ  ตรวจสอบดูว่ามีสิ่งใดที่จะใช้เป็นสื่อได้บ้างโดยเลือกให้ตรงกับลักษณะของผู้เรียนและวัตถุประสงค์ของการเรียน  เช่น  สื่อที่มีอยู่มีเนื้อหาข้อมูลและกิจกรรมที่ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่   และการเลือกสื่อนั้นย่อมขึ้นอยู่กับวิธีการสอนในบทเรียนละข้อจำกัดของสถานการณ์การเรียนการสอนด้วย
2.             ดัดแปลงสื่อที่มีอยู่แล้ว  ให้ใช้ได้ดีและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น  ทั้งนี้ย่อมขึ้นกับเวลาและงบประมาณในการดัดแปลงสื่อนั้นด้วย  เช่น มีภาพยนตร์เสียงในฟิล์มเป็นภาษาอังกฤษ  ถ้ามีการแปลเป็นภาษาไทยแล้วบันทึกเสียงลงใหม่เพื่อให้ผู้เรียนชมและฟังเข้าใจง่ายขึ้น  จะคุ้มกับเวลาและการลงทุนหรือไม่  เป็นต้น
1.             การออกแบบสื่อใหม่  ในกรณีที่ไม่มีสื่อสื่อเดิมอยู่แล้วไม่สามารถนำมาดัดแปลงให้ใช้ได้ตามที่ต้องการ  ผู้สอนย่อมต้องมีการออกแบบและจัดทำสื่อใหม่ซึ่งต้องคำนึงถึงองค์ประกอบหลายๆอย่าง  เช่น  ให้ต้องตรงกับวัตถุประสงค์ของการเรียนและลักษณะของผู้เรียนมีงบประมาณในการจัดทำเพียงพอหรือไม่  มีเครื่องมือและผู้ชำนาญในการจัดทำสื่อหรือไม่  เป็นต้น
v การใช้สื่อ (Utilize  Materials)
เป็นขั้นของการกระทำจริงซึ่งผู้สอนจะต้องดำเนินการดังนี้
1.             ดูหรืออ่านเนื้อหาในสื่อเหล่านั้นก่อนเป็นการเตรียมตัว  เช่น  ดูสไลด์หรือวีดิทัศน์เพื่อศึกษาเนื้อหาให้แม่นยำก่อนนำไปสอน  หรืออ่านบทวิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องนั้นร่วมด้วย
2.             จัดเตรียมสถานที่  ที่นั่งเรียน  อุปกรณ์เครื่องมือ  และสิ่งต่างๆเพื่อความสะดวกเรียบร้อยก่อนการสอน  และควรต้องทดลองอุปการณ์ที่จะใช้ก่อนว่าใช้ดีหรือไม่
3.             เตรียมตัวผู้เรียน  โดยการใช้สื่อนำเข้าสู่บทเรียน  ถ้ามีการฉายวีดิทัศน์หรือภาพยนตร์ให้ชมก็ควรจะต้องสรุปเนื้อหาเรื่องที่จะชมนั้นให้ผู้เรียนทราบเสียก่อนว่าเกี่ยวข้องกับบทเรียนอย่างไรบ้าง  เป็นการแนะนำก่อนล่วงหน้าและเพื่อสร้างแรงจูงใจแกผู้เรียน
4.             ควบคุมชั้นเรียน  เพื่อให้ผู้เรียนมีความสนใจในสื่อที่นำเสนอนั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น