วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555

v อีลี (Ely)
         อีลีได้จำแนกสื่อการสอนตามทรัพยากรการเรียนรู้ (Learning  Resources) เป็น  5  รูปแบบ  โดยแบ่งได้เป็นสื่อที่ออกแบบขึ้นเพื่อจุดมุ่งหมายทางการศึกษา (by desing)  และสื่อที่มีอยู่ทั่วไปแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน (by utilization)  ได้แก่
1.             คน (People) ในทางการศึกษาโดยตรงนั้น  หมายความถึง  บุคลากรที่อยู่ในระบบของโรงเรียน      ได้แก่  ครู  ผู้บริหาร  ผู้แนะแนวการศึกษา  ผู้ช่วยสอน  หรือผู้ที่อำนวยความสะดวกด้านต่างๆเพื่อให้ผู้เรียนรู้เกิดการเรียนรู้ ส่วน คนตามความหมายของการประยุกต์ใช้นั้นได้แก่  คนที่ทำงานหรือมีความชำนาญงานในแต่ละสาขาซึ่งมีอยู่ในวงสังคมทั่วไป  คนเหล่านี้นับเป็น ผู้เชี่ยวชาญซึ่งถึงแม้จะมิใช่นักศึกษา  แต่ก็สามารถจะช่วยอำนวยความสะดวกหรือเชิญมาเป็นวิทยากรเพื่อเสริมการเรียนรู้ได้ในการให้ความรู้แต่ล่ะด้าน  อาทิเช่น  ศิลปิน นักการเมือง  เหล่านี้เป็นต้น
2.             วัสดุ (Materials) วัสดุในการศึกษาโดยตรงจะเป็นประเภทที่บรรจุเนื้อหาบทเรียนโดยรูปแบบของวัสดุมิใช่สิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงถึง เช่น หนังสือ สไลด์    แผนที่ เป็นต้น  หรือสื่อต่างๆที่เป็นทรัพยากรในโรงเรียนและได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน  ส่วนวัสดุที่นำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนนั้นจะมีลักษณะเช่นเดียวกับวัสดุที่ใช้ในการศึกษาดังกล่าวข้างต้น  เพียงแต่ว่าเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในวัสดุนั้นส่วนมากจะอยู่ในรูปของการให้ความบันเทิง เช่น เกมคอมพิวเตอร์  หรือภาพยนตร์สารคดีชีวิตสัตว์ เป็นต้น  สิ่งเหล่านี้มักถูกมองไปในรูปของความบันเทิงแต่ก็สามารถให้ความรู้ได้เช่นกัน
3.             อาคารสถานที่ (Settings)  หมายถึง  ตัวตึก  ที่ว่าง  สิ่งแวดล้อม ฯลฯ  ซึ่งมีผลเกี่ยวข้องกับทรัพยากรรูปแบบอื่นที่กล่าวมาแล้วและกับผู้เรียนด้วย  สถานที่สำคัญในการศึกษา  ไดแก่  ตึกเรียน และสถานที่อื่นๆที่ออกแบบมาเพื่อการเรียนการสอนโดยส่วนรวม  เช่น  ห้องสมุด  หอประชุม                  สนามเด็กเล่น  เป็นต้น  ส่วนสถานที่ต่างๆในชุมชนก็สามารถประยุกต์ใช้เป็นทรัพยากรสื่อการเรียนได้เช่นกัน  เช่น  โรงงาน  ตลาด  สถานที่ทางประวัติศาสตร์  เป็นต้น
4.             เครื่องมือและอุปกรณ์ (Tools and Equipment) เป็นทรัพยากรทางการเรียนรู้เพื่อช่วยในการผลิตหรือใช้ร่วมกับทรัพยากรอื่น  ส่วนมากมักเป็นเครื่องมือด้านโสตทัศนูปกรณ์หรือเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร  เครื่องคอมพิวเตอร์  เป็นต้น
5.             กิจกรรม (Activities) โดยทั่วไปแล้วกิจกรรมที่กล่าวถึงมักเป็นการดำเนินงานที่จัดขึ้นเพื่อกระทำร่วมกับทรัพยากรอื่นๆหรือเป็นเทคนิควิธีการพิเศษเพื่อการเรียนการสอน  เช่น  การสอนแบบโปรแกรม  เกมและการจำลอง  ฯลฯ  กิจกรรมเหล่านี้มักมีวัตถุประสงค์ที่ตั้งขึ้น  มีการใช้วัสดุการเรียนเฉพาะแต่ละวิชา  หรือมีวิธีการพิเศษในการเรียนการสอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น